วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

คลังบทความ 3 เรื่อง


การบ้านวันที่ 17/09/2554 คลังบทความ 3 เรื่อง
เข้าไปที่ Blog http://mis-manoon.blogspot.com/ ซึ่งจะมีคลังบทความอยู่ด้านขวามือ มีด้วยกัน 3 เรื่อง โดยให้ทุกท่านอ่านบทความทั้ง 3 ซึ่งจะมีคำถามอยู่ในบทความนั้น แล้วให้เขียนตอบให้ Blog ของท่าน

1. กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
คำถาม : จากข้อมูลของทั้ง 9 องค์การ ท่านสนใจองค์การใดมากที่สุด เพราะอะไร แล้วหากท่านได้รับมอบหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศองค์การดังกล่าว (องค์การที่ท่านสนใจมากที่สุดนั้น) ท่านคิดว่าจะพัฒนาระบบอะไรเพิ่มเติม พร้อมในเหตุผล
คำตอบ : การพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ 
               คือการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ควบคู่ไปกับการปรับกระบวนการของกรมศุลกากรให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า e-custom เป็นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบ Web Application มาใช้ในการบริหารงานศุลกากร พร้อมกับการปรับระบบงานไปสู่ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ การทำให้ระบบการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องทันสมัย ไม่ได้อยู่ที่กรมศุลกากร แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยา, กรมประมง, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีการรวมระบบงานให้เป็นระบบเดียวกัน (one stop service) เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกดำเนินการได้บนหน้าต่างเดียวกัน เรียกว่า กระบวนการเบ็ดเสร็จ ณ หน้าต่างเดียว (single windows)

2. โครงการด้านระบบสารสนเทศที่อาจจะสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
คำถาม : ท่านคิดว่าจะสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเป็นอย่างแบบใดอย่างไรบ้าง พร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ : ในโลกการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์ควรจัดรูปแบบการศึกษาครบวงจร ระบบบริหารจัดการเรียนรู้และการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต (Leraining Management System) เต็มรูปแบบที่ผ่านกระบวนวิจัยและพัฒนา ให้เหมาะสมกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม โดยผสมผสานระบบต่างๆ ไว้ถึง 4 ระบบใหญ่ Web portal Management (WMS) The gateway toEducational Material ระบบการสร้าง Website ใหม่หรือเปลี่ยน Website เก่าที่มีอยู่แล้ว ให้เป็น Website แห่งการเรียนรู้สำหรับครู - อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้ปกครองและชุมชนได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอีกทั้งยังปรับปรุงข้อมูลข่าวสารให้มีความเป็นปัจจุบันได้โดยง่าย Course Management Systen (CMS) Learn for all in knowledge Society ระบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการศึกษาแนวใหม่ในยุค eLearning อย่างเต็มรูปแบบและพัฒนาใต้มาตรฐาน SCORM, AICC ที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยระบบนี้มีระบบย่อยต่างๆอีกมากมายที่ครอบคลุมตั้งแต่ การเรียน, การสอน, กิจกรรมการปฎิสัมพันธ์, การทดสอบและการประเมินผล, การแสดงผลงานต่อสาธารณะ Digital Library System (DLS) Deliver online Resource for your Learners ระบบบริหารจัดการห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าใช้เนื้อหาได้พร้อมกันอย่างไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเนื้อหานั้นจะอยู่ในรูปแบบของดิจิตอลหลากหลายแบบ เช่น eBook, eDocument, DigitalVDO, Digital Sound, Multimedia, Digital Picture, html… User Management System (UMS) Everytime Everywhere We are control ระบบบริหารจัดการสมาชิกใน Website สามารถควบคุมสิทธิการใช้งานได้อย่างเป็นอิสระ โดยสามารถจะจัดกลุ่มเป็นระดับได้ดังต่อไปนี้ กลุ่มผู้ดูแลระบบ กลุ่มอาจารย์ผู้สอน กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เยี่ยมชมทั่ว ๆ ไป ตามการเข้าไปใช้งานอีกทั้งยังสามารถจัดกลุ่มผู้เรียนตามสภาพจริงได้อีกด้วย


3. โครงการที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้านระบบสารสนเทศ
คำถาม : ท่านคิดว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office หรือไม่อย่างไร และหากมีควรจะมีอะไรบ้างพร้อมระบุเหตุผลประกอบเพื่อจะได้นำไปปฏิบัิติได้ จริง

คำตอบ : ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office เป็นไปได้ควรมีทั้งหมด แต่อย่างน้อยควร e-service และ web-service เพราะ e-service และ web service นั้น จะช่วยให้บริการในด้านข้อมูล ให้ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการประชาชน และสามารถเป็นศูนย์ในการพัฒนา การจัดการองค์ความรู้เป็นคลังข้อมูลของแต่ละ จังหวัดในสถาบันอุดมศึกษาทุกจังหวัด เพื่อให้จังหวัดภาคส่วนต่างๆได้มีข้อมูลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา จังหวัดหรือเพื่อการพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป เป็นต้น ทั้งยังเป็นเหตุผลในการ พิจารณาดำเนินโครงการ ศูนย์จัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดมุกดาหาร” โดยมีลักษณะรูปแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรม การเกษตร วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น