วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการระบบโลจิสติกส (Logistics) ผ่าน Web Service

การบริหารระบบโลจิสติกส์(Logistics) ผ่าน Web Service สามารถทำพัฒนาศักยภาพให้แก่องค์กรได้ ในด้านการวางแผน การดำเนินงาน การควบคุมการไหลและการจัดเก็บวัตถุดิบ  ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบความคืบหน้าของการขนส่งผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ของระบบได้อย่างอัตโนมัตินั้น ย่อมเป็นผลดีต่อการแข่งขันของอุตสาหกรรม และเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในตัวผลิตภัณฑ์ด้วย
             โดยมีระบบที่เกี่ยวข้องดังนี้
  • จีพีเอส (Global Positioning System) วิธีการหาพิกัดตําแหน่ง โดยใช้ระบบจีพีเอสครื่องรับแบบรังวัด การทํางานของเครื่องรับแบบรังวัดมีหลักการสําคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก การใชคลื่นส่งวัดระยะแทนการใช้รหัส C/A วัดระยะ ทําให้การวัดระยะมีความถูกต้อง ประการที่สอง คือ การใช้วิธีการวัด แบบสัมพัทธ์ ประการที่สาม การวัดระยะด้วยคลื่นส่ง 
  • เครื่องรับสัญญาณวัดระยะระหว่างเครื่องรับกับ ดาวเทียมได้
  • เว็บเซอร์วิส (Web Service) สำหรับลูกค้าที่ต้องการติดตามการขนส่งของสินค้า
  • ระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

  1. ผู้ใช้ร้องขอที่จะทราบข้อมูลสถานะของสินค้าผ่านWeb Service ของระบบ Logistics
  2. ผู้ใช้ใส่รหัสของตัวผู้ใช้หรือใส่รหัสของสินค้า
  3. ระบบ Logistics ทําการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล
  4. ระบบ Logistics ทำการตรวจสอบพิกัดสินค้าผ่านดาวเทียมผ่านระบบ GPS Tracking
  5. ระบบ GPS Tracking ระบุพิจัดส่งข้อมูลไปให้ระบบ Logistics
  6. ระบบ Logistics ทําการแสดงเส้นทางการเดินทางผ่าน Web Service พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งปัจจุบันของสินค้่า
  7. ในกรณีสินค้าถูกจัดส่งเรียบร้อย ระบบ Logistics จะแสดงสถานะการส่งผ่าน Web Service
  8. ระบบติดตามตลอดการขนส่ง และมีการอัพเดตข้อมูลสถานะการขนส่ง ให้กับระบบส่วนกลางซึ่งได้แก่ B2B server หรือ B2C server
  9.  ระบบความปลอดภัยในการติดต่อระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ XML (Security on XML data and transactions)
  10. ระบบ Logistics สามารถเชื่อมโยงกับระบบการขนส่งด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transport) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง กระบวนการทางธุรกิจกับภาคส่วนอื่นๆ แบบองค์รวม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  11. ระบบ Logistics สามารถคำนวณหาเส้นทางที่ใกล้ที่ผ่าน ระบบบริการแผนที่เส้นทาง (GIS Web Service) ซึ่งระบบ GIS ยังเปิดให้บริการข้อมูลน้ำท่วม ทำให้ ระบบ Logistics สามารถคำนวณเส้นเพื่อหลีเลี่ยงเส้นทางที่เกิดน้ำท่วมได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Web services transactions: past, present and future

การบริการทำธุรกรรมทาง Web ในอาดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ในแนวความคิดของ Atomic เกี่ยวกับทำธุรกรรมทาง Web มีบทบาทสำคัญพื้นฐานในการสร้างสภาวะสิ่งแวดล้อมการประกอบการโปรแกรมประยุกต์ด้วยการรับประกันผลทาสอดคล้องกันของหลายฝ่ายในการดำเนินธุระกิจ ในขณะที่จำนวนตัวเลขโปรแกรมประยุกต์ทางธุระกิจหลายฝ่ายเกี่ยวข้องกับรูปแบบต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับประริมาณของการทำธุรกรรม ฉะนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้ ในระยะเวลาอันรวดเร็ว “การทำธุรกรรมทางธุระกิจ” ต้องก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ อย่างเป็นรูปธรรมอ การพัฒนาอย่างรวดเร็วในโครงสร้างพื้นฐานของ Internet และ protocols มีผลต่อการดำเนินการระหว่างโปรแกรมประยุกต์แบบใหม่ ที่ทำให้แนวความคิดที่ก่อนหน้านี้เป็นเพียงนามธรรมได้รับการพิจารณาและมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้จริง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกทางสภาวะสิ่งแวดล้อมทางธุระกิจ เติมความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งผ่านการแปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิมเพื่อขยายการทำธุรกรรมที่เหมะสม internet and interoperation ความพยายามในการทำธุรกรรมธุระกิจเป็นจริงครั้งแรกที่ OASIS Business Transactions protocols ในปี 2001หลังจากนั้นก็มีข้อกำหนดการบริการทาง Web  ต่างๆ ตามเช่น the Web Services Transactions specification from IBM, Microsoft and BEA ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2002 และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการบริการข้อกำหนดในการจัดการทำธุรกรรมจาก Sun, Oracle และอื่นๆ ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2003 ถึงแม้ว่าในข้อกำหนดเล่านี้จะมีบางที่ชัดเจนแต่ในแนวทางของพวกเขาก็มีบางอย่างที่สำคัญและมีความแตกต่าง แต่น่าเสียดายสำหรับนักพัฒนาการเปิดตัวรายละเอียดการแข่งขันของสามคุณสมบัตินั้นทำให้ประสิทธิภาพนั้นถูกผูกขาตกลับการตลาด  ทำไมสิ่งเหล่านี้มีรายละเอียดคุณสมบัติแตกต่างกัน? ในสองปีผ่านมามีความต้องการใช้การเปลี่ยแปลงมากไปไม? รายละเอียดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นคืออะไร ? ในบทความนี้พยายามที่จะตอบคำถามเหล่านี้และบ่งบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขี้นในอนาคต

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างไร ?

                 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะกับการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน จุดของเวลาที่สั่งซื้อ การซื้อขายสินค้าหรือบริการท่องเที่ยวที่แท้จริงก็คือการซื้อขายข้อมูลหรือสิทธิ เช่นที่นั่งของสายการบิน ห้องของโรงแรม เวลาที่กำหนดไว้ ด้วยการสำรองบริการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวไม่สามารถทดลองใช้สินค้าได้ ดังนั้นการตัดสินใจซื้อจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นักท่องเที่ยวได้รับ เช่นแผ่นโฆษณา คำบอกเล่า ข้อมูลจากบริษัทนำเที่ยว และ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

นักท่องเที่ยวต้องการค้นหาสินค้าหรือบริการราคาถูก โดยไม่สนใจสินค้าจากช่องทางการจำหน่ายแบบเดิม ถ้าสินค้าที่สนใจมีราคาถูกกว่า การซื้อขายทำได้ง่ายกว่า และมีความน่าเชื่อถือ การที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อออนไลน์เป็นการกระตุ้นให้ผู้ขายบริการท่องเที่ยวเข้าสู่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยเปลี่ยนจากจุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการประกอบธุรกรรมออนไลน์ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันหรือเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจเอง
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นแหล่งแรกที่นักท่องเที่ยวใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเนื่องจากสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งราคา นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปยังบริษัทจัดการท่องเที่ยวและเวลาในการปรึกษากับตัวแทนการท่องเที่ยว การติดต่อโดยตรงทำให้นักท่องเที่ยวที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถได้รับข้อมูลจากผู้ขายโดยตรง สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางด้านคุณภาพและราคาเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีในราคาถูก ด้วยเหตุนี้ธุรกิจท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องนำข้อมูลที่มีอยู่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข้อมูลออกไปได้ทั่วโลกโดยค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ถูกกว่าการจัดตั้งสำนักตัวแทนและสามารถพัฒนาสื่อได้หลายประเภทเพื่อตอบสนองตามความต้องการเฉพาะของนักท่องเที่ยว
ตัวแบบธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระบบต่างๆดังนี้
  1.    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการตลาดโดยตรง (Direct marketing)  เป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อรวบรวมสินค้าหรือบริการจากผู้จัดจำหน่าย (Supplier/ provider) เช่นโรงแรม สายการบิน หรือสร้างสินค้าหรือบริการขึ้นเช่น โปรแกรมท่องเที่ยว แล้วขายให้กับลูกค้าโดยตรงในนามของบริษัท รายได้จากตัวแบบประเภทนี้คือ ยอดขายสินค้า และค่าโฆษณา
  2.      ตัวแทนจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ (E-distributor) เป็นการจัดสร้างเว็บท่า (Portal) หรือห้างสรรพสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-mall) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายระหว่างสมาชิก (เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รถเช่า) กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์ ธุรกิจจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า รับรองคุณภาพของสินค้า และให้บริการกับลูกค้า รายได้จากตัวแบบประเภทนี้คือค่าธรรมเนียมในการตั้งร้าน ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมที่ได้จากการทำธุรกรรม และ ค่าโฆษณา
  3.     เป็นนายหน้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-broker) มีลักษณะเช่นเดียวกับตัวแทนจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์จะเป็นเสมือนสถานที่หรือเสมือนตัวแทนในการแนะนำบริษัทผู้ให้บริการกับลูกค้าเท่านั้น แต่นายหน้าอิเล็กทรอนิกส์จะไม่รับผิดชอบในเรื่องของคำสั่งซื้อ การรับประกันหรือการชำระเงิน การซื้อขายจะทำโดยบริษัทสมาชิก บริษัทนายหน้าจะได้รับค่าธรรมเนียมในการตั้งร้าน ค่านายหน้าจากธุรกรรมและค่าการขายพื้นที่โฆษณา
  4. ผู้สนับสนุนการพัฒนาสาระ (Content creation) เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง     และทันสมัย เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยทั่วไปผู้สนับสนุนการพัฒนาสาระจะไม่เสนอขายสาระที่พัฒนาขึ้นเพราะสาระยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ นอกจากนี้การคัดลอกสาระในประเทศไทยสามารถทำได้โดยง่ายเพราะขาดความคุ้มครองในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยอาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งได้มีการพัฒนาสาระสนเทศด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพไปในระดับหนึ่งผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ปัจจัยที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ ได้แก่ การขยายตัวของจำนวนสมาชิกในชุมชน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ฐานข้อมูลหรือสาระเพิ่มมากขึ้น สามารถหาบริษัทในเครือหรือบริษัทสมาชิกเพิ่มขึ้น หรือมีประสบการณ์ในทางธุรกิจมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษาระบบสารสนเทศสาหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity

   
         ในอดีตถ้าจะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเพื่อจัดทำรายงานขนาด 45 หน้า เพื่อแจกให้แก่กรรมการการเงินระดับอาวุโสนั้นต้องใช้เจ้าหน้าที่ถึง 10 คน และต้องใช้เครือข่าย Sneaker ช่วยในการรวบรวมข้อมูล แต่ปัจจุบันนี้ข้อมูลส่วนใหญ่จะได้จากการเชื่อมตรง (On-line) ในระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) หรือระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร ดังนั้นลักษณะงานที่ต้องใช้คนจำนวนมากถึง 10 คน จึงถือว่าล้าสมัยไปแล้ว
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของผู้บริหารในบริษัทเงินทุน Fidelity จากการรับข้อมูลจากรายงานที่แจกด้วยสำเนาเอกสาร มาเป็นการรับข้อมูลปฏิบัติการผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้ทันที ทำให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลและผู้บริหารใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อรับข้อมูลที่ต่อเชื่อมตรง (On-line) ผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (Network) จึงไม่จำเป็นต้องผลิตรายงานแบบนำมาปะติดปะต่อกันอีก เพราะรายงานที่รวบรวมได้นั้นสามารถส่งถึงผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ได้มากกว่า 100 ราย บริษัทเงินทุน Fidelity มีความภาคภูมิใจที่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก
บริษัทเงินทุน Fidelity ทำการบริหารกิจการเงินทุนร่วม (Mutual fund) มากกว่า 60 ราย รวมทั้งบริษัทเงินทุน McGallan ด้วย บริษัทที่ใหญ่ที่สุด คือ American Mutual Fund ซึ่งดำเนินงานกิจการที่มีมูลค่าถึง 165 พันล้านดอลลาร์
เป็นที่เข้าใจกันว่าการจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ การใช้เครื่องเมือเพื่อสร้างตัวแบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้อย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องเล็ก ระบบใหม่ซึ่งเรียกว่า เฟมิส (Famis)” เป็นการบริหารด้านการเงินและการบริหารด้านข่าวสารซึ่งช่วยให้สามารถบ่งชี้และเลือกใช้ข้อมูลได้โดยง่าย นอกจากนั้นอาจใช้ซอฟต์แวร์ Excel หรือโปรแกรมตัวแบบของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ของระบบแฟ้มข้อมูล
บุคคลในวงการธนาคารได้มีปฏิกิริยาในทางบวกต่อระบบเฟมิส (Famis) ดังกล่าว ผู้วิเคราะห์และผู้จัดการฝ่ายการเงินชี้แจงว่ามีความพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และรู้สึกขอบคุณที่มีสิทธิ์ได้เข้าสู่ระบบข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของตน บุคคลเหล่านี้มีความเชื่อมั่นต่อโครงการของตนมากขึ้น และมีความรู้สึกว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในภาคการบริการด้านการเงิน
เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) หรือเจ้าหน้าที่ระบบการบริหารด้านข่าวสารมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity อย่างต่อเนื่อง นายอัลเบิร์ด นิคมี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบและหัวหน้าโครงการระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีความสนใจเป็นพิเศษ ในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในส่วนที่บกพร่องของระบบ EIS

ปัญหาและข้ออภิปราย

1. ข้อดีและข้อเสียของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) มีอะไรบ้าง

=> ข้อดี

- ผู้บริหารสามารถรับข้อมูลปฏิบัติการผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากระบบฐานข้อมูลได้
- ประหยัดกำลังคน
-ประหยัดเอกสาร
-ประหยัดเวลาในการดำเนีนงานและการตัดสินใจ
- ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดการเงิน

=> ข้อเสีย

- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ชับช้อนและยากต่อการจำกัดข้อมูล
- ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
- ยากต่อการประเมีนประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
- มีข้อจำกัดในการใช้งานเนื่องจาก (EIS) ถูกพัฑนาขื้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
- ต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญในการดูแลระบบเครือข่ายทั้งด้านฮาร์ดแวร์ เช่น อุปกรณ์เครือข่าย และซอฟต์แวร์ อีกทั้งต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี

2. เหตุใดการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) จึงเป็นการยากมากสำหรับบริษัทเงินทุน Fidelity

เพราะในการออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้น ทำให้บริษัทเงินทุน Fidelity ต้องบริหารกิจการเงินทุนที่มีมูลค่ามาก และต้องซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในราคาสูงเพื่อคุณภาพที่ดีและในการออกแบบระบบนั้นมีความซับซ้อนหากออกแบบระบบได้ไม่ดีพอข้อผิดพลาดเพียงบางส่วนของระบบจะส่งผลเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมากมายมหาศาลในภายหลังและการเข้ารหัสข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากๆ ป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์ หรือไวรัสต่างๆ ทำให้ยุงยากไม่สะดวกต่อผู้บริหาร ดั่งนั้นระบบสารสนเทศจึงเป็นการยุงยากมากสำหรับบริษัทเงินทุน Fidelity

3. ท่านคิดว่าระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ของบริษัทเงินทุน Fidelity จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร

สามารถช่วยให้การบริการนั้นเป็นไปในทางที่ง่ายมีข้อมูลที่สมบูรณ์ทัน เหตุการณ์ และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดหุ้นให้รวดเร็วยิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์ ในภาคการบริหารด้านการเงินและประหยัดเวลาในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการเพื่อจัดทำรายงาน นอกจากนี้ยังประหยัดในเรื่องเอกสารและกำลังคน ช่วยสร้างความมั่นใจ และประทับใจให้แก่ลูกค้าของบริษัทเงินทุน Fidelity ได้ในเรื่องความถูกต้อง ซื่อตรง และแม่นยำของข้อมูล และสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆได้ให้แก่บริษัท

คำถามที่ 2 ท่านคิดว่าภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ภาษา (นามสกุล) พร้อมระบบข้อดีข้อเสียของแต่ละภาษาดังกล่าว

          ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
         จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหรือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)
      ภาษาเครื่อง (Machine Language) ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
     ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code) ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่องผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
        ภาษาระดับสูง (High Level Language) ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไปภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวล ผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอม พิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเองภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
        ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language) เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาในยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมีนักเขียโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินต้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้โดยงายดาย