วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

คลังบทความ 3 เรื่อง


การบ้านวันที่ 17/09/2554 คลังบทความ 3 เรื่อง
เข้าไปที่ Blog http://mis-manoon.blogspot.com/ ซึ่งจะมีคลังบทความอยู่ด้านขวามือ มีด้วยกัน 3 เรื่อง โดยให้ทุกท่านอ่านบทความทั้ง 3 ซึ่งจะมีคำถามอยู่ในบทความนั้น แล้วให้เขียนตอบให้ Blog ของท่าน

1. กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
คำถาม : จากข้อมูลของทั้ง 9 องค์การ ท่านสนใจองค์การใดมากที่สุด เพราะอะไร แล้วหากท่านได้รับมอบหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศองค์การดังกล่าว (องค์การที่ท่านสนใจมากที่สุดนั้น) ท่านคิดว่าจะพัฒนาระบบอะไรเพิ่มเติม พร้อมในเหตุผล
คำตอบ : การพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ 
               คือการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ควบคู่ไปกับการปรับกระบวนการของกรมศุลกากรให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า e-custom เป็นการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบ Web Application มาใช้ในการบริหารงานศุลกากร พร้อมกับการปรับระบบงานไปสู่ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ การทำให้ระบบการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องทันสมัย ไม่ได้อยู่ที่กรมศุลกากร แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยา, กรมประมง, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีการรวมระบบงานให้เป็นระบบเดียวกัน (one stop service) เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกดำเนินการได้บนหน้าต่างเดียวกัน เรียกว่า กระบวนการเบ็ดเสร็จ ณ หน้าต่างเดียว (single windows)

2. โครงการด้านระบบสารสนเทศที่อาจจะสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
คำถาม : ท่านคิดว่าจะสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเป็นอย่างแบบใดอย่างไรบ้าง พร้อมให้เหตุผลประกอบ
ตอบ : ในโลกการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์ควรจัดรูปแบบการศึกษาครบวงจร ระบบบริหารจัดการเรียนรู้และการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต (Leraining Management System) เต็มรูปแบบที่ผ่านกระบวนวิจัยและพัฒนา ให้เหมาะสมกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม โดยผสมผสานระบบต่างๆ ไว้ถึง 4 ระบบใหญ่ Web portal Management (WMS) The gateway toEducational Material ระบบการสร้าง Website ใหม่หรือเปลี่ยน Website เก่าที่มีอยู่แล้ว ให้เป็น Website แห่งการเรียนรู้สำหรับครู - อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้ปกครองและชุมชนได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอีกทั้งยังปรับปรุงข้อมูลข่าวสารให้มีความเป็นปัจจุบันได้โดยง่าย Course Management Systen (CMS) Learn for all in knowledge Society ระบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการศึกษาแนวใหม่ในยุค eLearning อย่างเต็มรูปแบบและพัฒนาใต้มาตรฐาน SCORM, AICC ที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยระบบนี้มีระบบย่อยต่างๆอีกมากมายที่ครอบคลุมตั้งแต่ การเรียน, การสอน, กิจกรรมการปฎิสัมพันธ์, การทดสอบและการประเมินผล, การแสดงผลงานต่อสาธารณะ Digital Library System (DLS) Deliver online Resource for your Learners ระบบบริหารจัดการห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าใช้เนื้อหาได้พร้อมกันอย่างไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเนื้อหานั้นจะอยู่ในรูปแบบของดิจิตอลหลากหลายแบบ เช่น eBook, eDocument, DigitalVDO, Digital Sound, Multimedia, Digital Picture, html… User Management System (UMS) Everytime Everywhere We are control ระบบบริหารจัดการสมาชิกใน Website สามารถควบคุมสิทธิการใช้งานได้อย่างเป็นอิสระ โดยสามารถจะจัดกลุ่มเป็นระดับได้ดังต่อไปนี้ กลุ่มผู้ดูแลระบบ กลุ่มอาจารย์ผู้สอน กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เยี่ยมชมทั่ว ๆ ไป ตามการเข้าไปใช้งานอีกทั้งยังสามารถจัดกลุ่มผู้เรียนตามสภาพจริงได้อีกด้วย


3. โครงการที่ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้านระบบสารสนเทศ
คำถาม : ท่านคิดว่าการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office หรือไม่อย่างไร และหากมีควรจะมีอะไรบ้างพร้อมระบุเหตุผลประกอบเพื่อจะได้นำไปปฏิบัิติได้ จริง

คำตอบ : ควรจะต้องมีระบบ e-service, web-service, front and back office เป็นไปได้ควรมีทั้งหมด แต่อย่างน้อยควร e-service และ web-service เพราะ e-service และ web service นั้น จะช่วยให้บริการในด้านข้อมูล ให้ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการประชาชน และสามารถเป็นศูนย์ในการพัฒนา การจัดการองค์ความรู้เป็นคลังข้อมูลของแต่ละ จังหวัดในสถาบันอุดมศึกษาทุกจังหวัด เพื่อให้จังหวัดภาคส่วนต่างๆได้มีข้อมูลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา จังหวัดหรือเพื่อการพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป เป็นต้น ทั้งยังเป็นเหตุผลในการ พิจารณาดำเนินโครงการ ศูนย์จัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดมุกดาหาร” โดยมีลักษณะรูปแบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรม การเกษตร วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ศูนย์ข้อมูลกลางทาง วัฒนธรรม

ะบบของศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
            
 กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับสากลตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม โดยรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาตั้งแต่ในส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น จนถึงระดับหมู่บ้าน และชุมชน ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่ายิ่งของประเทศ ที่คนไทยจะต้องร่วมกันรักษา สืบทอด และส่งเสริมวัฒนธรรมในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านส่งเสริมความรู้ และพัฒนาเศรษฐกิจ
      
       “ฐานข้อมูลที่มุ่งเน้นให้บริการประชาชน มีจำนวน ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านหอสมุดและจดหมายเหตุ ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ ด้านอุทยานประวัติศาสตร์ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และด้านนาฏศิลป์ดนตรี ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์ประมวลผล การนำเสนอข้อมูลในรูปดิจิทัล และการจัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างทรัพยากรบุคคลของทั้งสองกระทรวง ตลอดจนการดำเนินการอื่นๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การพัฒนาข้อมูลในด้านทุนทางวัฒนธรรมสามารถอำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานของกระทรวงฯ เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านวัฒนธรรมมากขึ้น
          พร้อมทั้งเสริมสร้าง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ภายใต้แนวคิด ETC (Economy, Technology, Culture) ที่เป็นการนำข้อมูลเชิงวัฒนธรรมจากรากหญ้า ที่เกิดจากชุมชน เครือข่าย และข้อมูลจากหน่วยงาน มาผสานกับเทคโนโลยี ทำให้มีการเพิ่มทุนทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเป้าหมายสูงสุดของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการนำขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับประเทศทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งสร้างโอกาสสำหรับการเข้าถึงเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
      
       สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย โดยนำงานวิจัยของกระทรวงฯเข้ามาสนับสนุน อาทิ ระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์,ระบบแนะนําแผนท่องเที่ยวในจังหวัดอยุธยา,ระบบแนะนําข้อมูลเชิงวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และเทศกาลไทย บนโทรศัพท์มือถือ , การพัฒนาโปรแกรมออกแบบลวดลายทอผ้าและฐานข้อมูลลายทอผ้าพื้นถิ่นภาคเหนือสําหรับวิสาหกิจชุมชน , โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนเพื่อการสืบสานวัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ,ระบบจัดเก็บองค์ความรู้ถาวรแบบดิจิทัลสําหรับโขน เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Font Office for Smart Office


การพัฒนาระบบ Font Office ของกรมสรรพสามิตร
           ระบบ Font Office ของกรมสรรพสามิต ควรอยู่ในรูปแบบการบริการ แบบเต็มรูปแบบ
เพื่อการให้ประโยชน์สูงสุดทั้งด้านบริการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนงาน
ที่ซ้ำซ้อนลง ตลอดจนการบูรณาการแนวคิด และยุทธศาสตร์ ให้ตอบรับกับระบบงานระหว่าง
ส่วนราชการด้วยกัน (Government to Government: G2G) และระบบงานระหว่างส่วนราชการกับ
ภาคเอกชน (Government to Business: G2B) ซึ่งโดยปกติแล้ว ก็จจากการเร่งรัดะมีการรับ-ส่ง
ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมระบบกันในภาคธุรกิจต่อธุรกิจ หรือภาคเอกชนด้วย
 (Business to Business: B2B) 


         ด้าน Software

  • ระบบผู้ดูแลระบบของผู้ประกอบ
  • ระบบTax Information (Statistic)
  • ระบบTax Information (Company Profile)
  • ระบบงานติดตามสถานะงานใบอนุญาต
  • ระบบงานติดตามสถานะวิเคราะห์สินค้าและของกลาง
  • ระบบงานแจ้งสูตรการผลิต
  • ระบบงานจดทะเบียนสรรพสามิต
  • ระบบงานแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
  • ระบบงานบันทึกรายการภาษีสรรพสามิตร
  • ระบบงานตรวจสอบข้อมูลการบันทึกรายการภาษี
  • ระบบงานชำระภาษีสรรสามิต
  • ระบบขอคืน ยกเว้นภาษีสรรพสามิต
  • ระบบหักลดหย่อนภาษีสรรพสามิต
         ด้าน Hardware

  • ระบบการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การใช้งานเหมืองข้อมูล(Data mining)ร่วมกันได้ในส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจ ผ่านทางระบบจัดการทรัพยากรส่วนกลาง ทำให้มีการใช้งานทรัพยากรไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
  • อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตพกพา (Internet Mobile Device) การใช้งานอินเทอร์เน็ตแอพพลิเคชั่นแลการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นและการขยายตัวในรูปแบบการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น ระบบ3G WiFi ดังนั้น Internet Mobile Device สามารถทำให้พนักงานองค์รู้ข่าวเท่าทันเหตุการณ์และสามารถให้บริการได้อย่างทัันท่วงที
  • เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและช่องท่างในการสื่อสาร การอำนวยความสะดวก ในการให้บริการ การทำงาน
       ด้าน Peopelware
  • ด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากร   ควรได้รับการอบรมการใช้ระบบอย่างดีเพื่อให้บริการได้อย่างเต้มประสิทธิภาพ  
  • การอบรมการบริการอย่างสุภาพและเป็นกันเอง  รวมไปถึงการสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการด้วย

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Customer Relationship Management


ระบบ CRM จะเป็นระบบ Front to Back office ได้อย่างไร

ระบบ CRM จะเป็นระบบ Front to Back office ได้เพราะเป็นระบบที่ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้า ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม  loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น