วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างไร ?

                 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะกับการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน จุดของเวลาที่สั่งซื้อ การซื้อขายสินค้าหรือบริการท่องเที่ยวที่แท้จริงก็คือการซื้อขายข้อมูลหรือสิทธิ เช่นที่นั่งของสายการบิน ห้องของโรงแรม เวลาที่กำหนดไว้ ด้วยการสำรองบริการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวไม่สามารถทดลองใช้สินค้าได้ ดังนั้นการตัดสินใจซื้อจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นักท่องเที่ยวได้รับ เช่นแผ่นโฆษณา คำบอกเล่า ข้อมูลจากบริษัทนำเที่ยว และ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

นักท่องเที่ยวต้องการค้นหาสินค้าหรือบริการราคาถูก โดยไม่สนใจสินค้าจากช่องทางการจำหน่ายแบบเดิม ถ้าสินค้าที่สนใจมีราคาถูกกว่า การซื้อขายทำได้ง่ายกว่า และมีความน่าเชื่อถือ การที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อออนไลน์เป็นการกระตุ้นให้ผู้ขายบริการท่องเที่ยวเข้าสู่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยเปลี่ยนจากจุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการประกอบธุรกรรมออนไลน์ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันหรือเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจเอง
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นแหล่งแรกที่นักท่องเที่ยวใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเนื่องจากสามารถเปรียบเทียบข้อมูลในด้านต่างๆรวมทั้งราคา นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปยังบริษัทจัดการท่องเที่ยวและเวลาในการปรึกษากับตัวแทนการท่องเที่ยว การติดต่อโดยตรงทำให้นักท่องเที่ยวที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถได้รับข้อมูลจากผู้ขายโดยตรง สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางด้านคุณภาพและราคาเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีในราคาถูก ด้วยเหตุนี้ธุรกิจท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องนำข้อมูลที่มีอยู่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ข้อมูลออกไปได้ทั่วโลกโดยค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ถูกกว่าการจัดตั้งสำนักตัวแทนและสามารถพัฒนาสื่อได้หลายประเภทเพื่อตอบสนองตามความต้องการเฉพาะของนักท่องเที่ยว
ตัวแบบธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระบบต่างๆดังนี้
  1.    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการตลาดโดยตรง (Direct marketing)  เป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อรวบรวมสินค้าหรือบริการจากผู้จัดจำหน่าย (Supplier/ provider) เช่นโรงแรม สายการบิน หรือสร้างสินค้าหรือบริการขึ้นเช่น โปรแกรมท่องเที่ยว แล้วขายให้กับลูกค้าโดยตรงในนามของบริษัท รายได้จากตัวแบบประเภทนี้คือ ยอดขายสินค้า และค่าโฆษณา
  2.      ตัวแทนจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ (E-distributor) เป็นการจัดสร้างเว็บท่า (Portal) หรือห้างสรรพสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-mall) เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายระหว่างสมาชิก (เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รถเช่า) กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์ ธุรกิจจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า รับรองคุณภาพของสินค้า และให้บริการกับลูกค้า รายได้จากตัวแบบประเภทนี้คือค่าธรรมเนียมในการตั้งร้าน ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมที่ได้จากการทำธุรกรรม และ ค่าโฆษณา
  3.     เป็นนายหน้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-broker) มีลักษณะเช่นเดียวกับตัวแทนจำหน่ายอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์จะเป็นเสมือนสถานที่หรือเสมือนตัวแทนในการแนะนำบริษัทผู้ให้บริการกับลูกค้าเท่านั้น แต่นายหน้าอิเล็กทรอนิกส์จะไม่รับผิดชอบในเรื่องของคำสั่งซื้อ การรับประกันหรือการชำระเงิน การซื้อขายจะทำโดยบริษัทสมาชิก บริษัทนายหน้าจะได้รับค่าธรรมเนียมในการตั้งร้าน ค่านายหน้าจากธุรกรรมและค่าการขายพื้นที่โฆษณา
  4. ผู้สนับสนุนการพัฒนาสาระ (Content creation) เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง     และทันสมัย เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยทั่วไปผู้สนับสนุนการพัฒนาสาระจะไม่เสนอขายสาระที่พัฒนาขึ้นเพราะสาระยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ นอกจากนี้การคัดลอกสาระในประเทศไทยสามารถทำได้โดยง่ายเพราะขาดความคุ้มครองในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยอาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งได้มีการพัฒนาสาระสนเทศด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพไปในระดับหนึ่งผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ปัจจัยที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ ได้แก่ การขยายตัวของจำนวนสมาชิกในชุมชน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ฐานข้อมูลหรือสาระเพิ่มมากขึ้น สามารถหาบริษัทในเครือหรือบริษัทสมาชิกเพิ่มขึ้น หรือมีประสบการณ์ในทางธุรกิจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น